สมาคมสื่อฯ จชต.จัดเสวนา บทบาทสื่อ กับ การขับเคลื่อนสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้ และร่วมละศิลอดรอมฎอน นักเขียนชื่อดัง คอลัมนิสต์ ร่วมสะท้อนมุมมอง (ชมคลิป)

สมาคมสื่อฯ จชต.จัดเสวนา บทบาทสื่อ กับ การขับเคลื่อนสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้ และร่วมละศิลอดรอมฎอน นักเขียนชื่อดัง คอลัมนิสต์ ร่วมสะท้อนมุมมอง

 

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=pBtm8EUcfq0[/embedyt]

ที่ห้องประชุมพิกุล โรงแรมอิมพิเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส ทางสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (STMA) ได้จัดเสวนา บทบาทสื่อ กับการขับเคลื่อนสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้ และร่วมละศิลอด เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1440 ซึ่งมีนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส มาเป็นประธาน และมี นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายภูวสิษฏ์ สุขใส นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้(STMA) นายรพี มามะ อุปนายกบริหาร สมาคมสื่อมวลชน จชต. พร้อมด้วย นายชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ นักเขียนชื่อดัง นายอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) คอลัมนิสต์ มติชนรายสัปดาห์ /ผู้สื่อข่าว SPM news น.อ.หญิง ศรินทร สุวรรณพงศ์ ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล นางบุษยมาส อิศดุลย์ ประธานกลุ่มบ้านบุญเต็ม (คุณแอน) ร่วมด้วยกรรมสมาคมสื่อ จชต. และสื่อมวลชนในพื้นที่ และตัวแทนข้าราชการ ตำรวจ การศึกษา หัวหน้าส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมงาน ร่วมแสดงมุมมอง ทัศนะ วิเคราะห์สถานการณ์ชายแดนภาคใต้ เพื่อสะท้อน สู่การแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในบทบาทของสื่อฯ


ทั้งนี้หลายฝ่าย ต่างได้สะท้อน บทบาทกับทำงานของสื่อ ในยุคดิจิทัล ที่ต้องปรับตัว ทั้งสื่อ กระแสหลัก สื่อทางเลือก สื่อเวปไซด์ เพจ สื่อโซเชียน ต่างๆ ซึ่ง สังคมในยุคนี้เป็นสังคมยุคดิจิทัล ที่สื่อและ เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โลกถูกย่อให้เล็ก ลงด้วยเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล ต่างๆ เป็นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วนั้นส่งผลต่อวิธีคิด สมัยในยุคดิจิทัลต้องมีการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้มี ประสิทธิภาพและเท่าทันเทคโนโลยีและสังคมที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้นั้น ต้องพัฒนาความรู้และมี การคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและการแสดงความ คิดเห็นต่างๆ ในโลกออนไลน์ เพื่อนำมาสู่การใช้ข้อมูล สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเท่าทัน


สถานการณ์ต่อการเติบโตของสังคม โลกธุรกิจและ บริการออนไลน์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสื่อ จากภาคเอกชนและภาครัฐ จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อเป็นในยุคดิจิทัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนความคิด ให้เท่าทันอย่างสร้างสรรค์ ผสมผสานการยอมรับความ แตกต่างของแต่ละบุคคลและความแตกต่างของ วัฒนธรรมที่มีความหลากหลายภายใต้แนวคิดนอกกรอบ อย่างสร้างสรรค์ ในฐานะคนไทยควรรักษาความเป็น ตัวตนด้วยสติปัญญา ไม่เชื่อหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร้ เหตุผล การแสดงเอกลักษณ์ของตนเองในเชิงเพื่อพัฒนา ต่อยอด และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในสังคม ภายใต้ความแตกต่างทางความคิดจากคนอื่นๆ แต่ยังคง เหลือพื้นที่ของตนเองเพื่อใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์อย่าง ซึ่งสื่อหลัก หรือสื่อสำนักข่าว ต้องสะท้อนมุมมอง และชี้นำ ในทางสร้างสรรค์ คำนึงถึงจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบ เพื่อนำสู่การแก้ปัญหา เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม และเปิดพื้นที่ในการสร้างสันติภาพ หรือสันติสุข


สำหรับ “สโลแกนของสมาคมสื่อมวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สรรค์สร้างสังคม ส่งเสริมวิชาชีพสื่อ ที่เรากำหนดบทบาทการทำงาน และมีเป้าหมายหลัก 2 ด้านคือ สังคมส่วนรวม ด้วยแนวคิดการขับเคลื่อนสังคมอย่างสร้างสรรค์ สื่อต้องเป็นผู้นำในการสร้างวาระทางสังคม เพื่อให้เกิดสังคมที่ดี น่าอยู่ และอีกด้านหนึ่งคือ ต่อสมาชิกสื่อโดยการส่งเสริมบทบาทด้านวิชาชีพ ทรงไว้ซึ่งอุดมการณ์ การคุ้มครองผู้ทำหน้าที่โดยสุจริต
อย่างไรก็ตาม หลักแห่งฐานันดรที่ 4 ประโยชน์เพื่อส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว ก็ยังต้องเป็นหลักใหญ่ที่สื่อต้องยึดมั่น ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของ ที่เราจะร่วมทำงานด้วยกัน

โดยเจตนารมณ์การก่อตั้งสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีสมาชิกครอบคลุมสื่อทุกแขนง ที่เป็นสื่ออาชีพ และมีองค์กร มีสมาชิกตามคณะกรรมการครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งจะสร้างวาระขับเคลื่อนสังคมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการทำหน้าที่ตามอุดมการณ์และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคม และนำจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุข ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจ นักสื่อสารมวลชน สันสร้างสังคม
หลังเสร็จสิ้นการเสวนา ทางคณะผู้นำเสวนาและผู้ร่วมเสวนา ได้ร่วมกันละศิลอด ฮ.ศ. 1440 ณ.ห้องอาหารโรงแรมอิมพีเรียลนราธิวาส โดยสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเจ้าภาพ เดือนอันประเสริฐในครั้งนี้

ประพันธ์ ฤทธิวงศ์ /นราธิวาส

Related posts