นครสวรรค์ – ปัญหาท่าทรายยังคงเรื้อรัง ชาวบ้านร้อง วอนหน่วยงานของรัฐ ลงตรวจสอบท่าทราย อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

นครสวรรค์ – ปัญหาท่าทรายยังคงเรื้อรัง ชาวบ้านร้อง วอนหน่วยงานของรัฐ ลงตรวจสอบท่าทราย อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

วันนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครสวรรค์ชาวบ้านได้ร้องเรียนมายังผู้สื่อข่าว เกี่ยวกับกรณีปัญหาคาดว่าจะมีการกระทำผิดของผู้ประกอบการเรือดูดทรายตามลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ที่มีผู้ประกอบการดูดทรายตามมาตรา 120 ว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีที่ให้ขุดล่องน้ำไม่ให้ตื้นเขินตามโครงการของรัฐบาล

แต่เมื่อได้รับอนุญาตพบว่าผู้ประกอบการท่าทรายบางท่าได้ใช้เครื่องจักรหนักเร่งระดมเรือดูดทรายจำนวนหลายลำ (3-4 ลำ) และอาจจะทำให้ไร้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำการตรวจสอบปริมาณคิวทรายที่ผู้ประกอบการได้ทำสัญญาไว้กับหน่วยงานของรัฐ จึงทำให้ชาวบ้านหลายรายทนไม่ไหวและออกมาร้องเรียนให้ผู้สื่อข่าวลงมาตรวจสอบพร้อมให้หน่วยงานในพื้นที่ที่เป็นคู่สัญญากับผู้ประกอบการท่าทราย รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเร่งดำเนินการตรวจสอบพร้อมสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการดูดทราย ที่ได้รับสัมปทานไว้ว่าเกินปริมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของผู้ประกอบการท่าทรายได้ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน ทั้งมลภาวะฝุ่นละออง หมอกควัน รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ถนนพัง ตลิ่งทรุด มลภาวะทางเสียง และอาจจะมีปัญหาการลักลอบดูดทรายผิดกฎหมาย เลี่ยงการเสียภาษี สร้างความเสียหายให้กับภาครัฐ แต่ยังขาดความคุมเข้มของหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าไปกำกับดูแล  จึงเปิดช่องให้ นายทุนฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์ มหาศาล นำทรายที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติไปขายโดยไม่เสียภาษีให้กับท้องที่ ชาวบ้านวอนให้หน่วยงานเร่งเข้าตรวจสอบ

ไม่ใช่เอื้อให้ผู้ประกอบการดูดทรายในพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีการฉวยโอกาสช่องว่างของกฎหมาย ในการกอบโกยผลประโยชน์ดูดทรายขึ้นมาจำหน่าย ซึ่งตามระเบียบ มาตรา 120 พบว่าปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ แต่ไม่ได้มีการตรวจสอบติดตามอย่างจริงจังถึงปริมาณคิวทรายที่ออกจากท่า ตรงส่วนนี้อาจทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ปีละหลายสิบล้านบาท

ด้านปัญหาเกี่ยวกับปัญหาการประกอบกิจการดูดทราย ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งเรื่องความมั่นคง การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การรักษาร่องน้ำ ที่ผ่านมีการออกระเบียบปฏิบัติขั้นตอน ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่ไร้ซึ่งการควบคุมให้อยู่ในกรอบของกฎหมายอย่างจริงจังจนเป็นที่มาของการร้องเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง กรมการปกครอง กรมเจ้าท่า กรมที่ดิน กรมอุตสาหกรรม กรมสรรพากร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาตรวจสอบอย่างจริงจังเสียที

Related posts